Go Back Go Back
Go Back Go Back

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากเสียงเด็กและเยาวชนไทยเรื่องสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากเสียงเด็กและเยาวชนไทยเรื่องสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากเสียงเด็กและเยาวชนไทยเรื่องสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์

Publisher

UNFPA

Number of pages

16

Author

UNFPA Thailand

Technical Reports and Document

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากเสียงเด็กและเยาวชนไทยเรื่องสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์

Publication date

16 December 2019

Download Icon

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

จากเสียงเด็กและเยาวชนไทย

เรื่องสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์

ภายใต้พรบ.การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
 

เสียงจากเด็กและเยาวชนต่อสภาพปัญหาและความต้องการด้านสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ 5 เรื่อง

1) เด็กและเยาวชนมีความกังวลใจต่อสี่เรื่องหลักที่มีผลกระทบต่อวัยรุ่นมากที่สุด - ซึมเศร้า อุบัติเหตุ ยาเสพติด และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

2) เด็กและเยาวชนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาในภาพรวม แต่ยังคงต้องปรับปรุงเนื้อหาให้รอบด้านโดยคำนึงถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่นมาชึ้น ไม่มุ่งเพียงการนำเสนอผลกระทบทางลบขอของการมีเพศสัมพันธ์ และต้องเพิ่มศักยภาพของบุคคลากรครูเรื่องการให้คำปรึกษาและเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของเด็กและเยาวชน

3) การเลี้ยงดูและทัศนคติของพ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชน ยังไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และปรับทัศนคติเรื่องเพศวิถีศึกษาของเด็กและเยาวชน อีกทั้งเด็กและเยาวชนมีความต้องการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสาหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต

4) ถ้า “ฉันท้อง” หรือ “คนรักของฉันท้อง” ครึ่งหนึ่งของเด็กและเยาวชนมีความเห็นว่า “แม่” เป็นบุคคลแรกที่ตนจะปรึกษาและขอคาแนะนา โดย 2 ใน 3 ของเด็กและเยาวชนมั่นใจว่าตนมีความรู้ที่สามารถให้คำแนะนำกับเพื่อนที่ตั้งท้องได้ว่าควรทำอย่างไร โดยเฉพาะความรู้เรื่องการพิทักษ์สิทธิเมื่อวัยรุ่นตั้งครรภ์

5) ครึ่งหนึ่งของเด็กและเยาวชนรู้สึกพึงพอใจการให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในพื้นที่ที่ตนพักอาศัย แต่ควรมีการปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กและเยาวชนมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องการเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้คำปรึกษาและข้อมูลทางโซเชียลมีเดียที่เหมาะสมกับวัยรุ่น ตลอดจนมีช่องทางการเข้าถึงถุงยางอนามัยที่เป็นมิตรมากขึ้น

ที่มาของเสียงเยาวชนต่อข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนี้

ที่มาของเสียงเยาวชนต่อข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนี้ สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจาก สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) จัดทาการสารวจเสียงและความต้องการของเยาวชนเกี่ยวกับสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ตามพรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมุ่งเน้นเรื่องสิทธิสุขภาวะทางเพศและทักษะที่จาเป็นผ่านทาง C-Site Application ซึ่งเป็นเครื่องมือสารวจความคิดเห็นของประชาชนผ่าน application ออนไลน์ที่สามารถตอบข้อมูลได้จากโทรศัพท์มือถือ แบบสอบถามที่ใช้ จัดทาขึ้นโดยสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยผ่านการจัดประชุมเยาวชน 4 ภาคช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2562 ผู้ตอบแบบสอบถาม เด็กและยาวชนอายุระหว่าง 10-25 ปี เป็นผู้ให้ข้อมูลทาง C-Site ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยผู้แทนจากสภาเด็กและเยาวชนทั่วประเทศเป็นผู้ดาเนินการหลักในการเข้าถึงเด็กและเยาวชนจากทั่วประเทศเพื่อให้เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องจกากระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การตรวจทานข้อมูล ในเดือน ตค 2562 เด็กและเยาวชนจานวน 40 คนได้จัดประชุมเพื่อตรวจทานผลการวิเคราะห์ข้อมูล C-Site เพื่อขยายความ สร้างความเข้าใจต่อคำตอบที่ได้รับจากมุมมองและการให้ความหมายของเด็กและเยาวชนเอง