Go Back Go Back
Go Back Go Back

สุขภาพมารดา

สุขภาพมารดา

สุขภาพมารดา

แม้ว่าประเทศไทยจะมีความท้าทายทางสังคมและการพัฒนาอย่างมาก แต่ยังสามารถสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังจัดการกับความท้าทายต่างๆ ที่ประเทศไทยพบแนวทางประสบความสำเร็จไปแล้ว จากประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างยาวนาน ประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางทรัพยากรทางเทคนิคทั้งในด้านความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี ประเทศไทยได้ลงทุนในโครงการความร่วมมือแบบไตรภาคีหลายโครงการร่วมกับ UNFPA และกับประเทศต่างๆ เช่น ประเทศภูฏานและสปป. ลาว เพื่อสนับสนุนการคลอดที่ปลอดภัย

ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและ UNFPA ได้ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านสุขภาพมารดาในประเทศภูฏานและสปป.ลาวผ่านความร่วมมือแบบไตรภาคึกับรัฐบาลทั้งสองประเทศนี้ ประเทศภูฏานได้ขอการแบ่งปันความรู้ด้านการพัฒนาหลักการและการคำนวณหาทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันและผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพให้มีทักษะการผดุงครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น การทำงานเหล่านี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขจากภูฏานได้เรียนรู้ความเชี่ยวชาญจากเพื่อนร่วมงานคนไทยและได้ปรับปรุงขีดความสามารถในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินในระหว่างการทำคลอด ตลอดจนได้ปรับปรุงบริการการส่งต่อผู้ป่วย การให้บริการก่อนคลอดและหลังคลอด ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้นำไปสู่ความรู้สึกเป็นเจ้าของการทำงานร่วมกันและความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ความร่วมมือแบบไตรภาคียังได้ร่วมกับสปป. ลาวในการพัฒนาศักยภาพการผดุงครรภ์แห่งชาติ พ.ศ. 2558-2560 ที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนประเทศในการนำมาตรฐานสมาพันธ์การผดุงครรภ์ระหว่างประเทศที่องค์การอนามัยโลกรับรองให้เป็นมาตรฐานสากลสำหรับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการผดุงครรภ์

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า UNFPA ประเทศไทยวางแผนในการส่งเสริมประเทศไทยในการแบ่งปันประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีผ่านโครงการร่วมมือไตรภาคีแบบใต้-ใต้ในด้านต่างๆ เช่น สุขภาพของมารดา การกำจัดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก การจ่ายปันผลทางประชากรศาสตร์ การตอบสนองนโยบาย และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ สุขภาพมารดาและการวางแผนครอบครัว

กดลิ้งค์เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติจาก ภูฏาน และ สปป.ลาว