“เสียงของเยาวชน” กับการเรียกร้องเรียนรู้สิทธิทางเพศ
ผลจากการที่ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ระบุให้ผู้แทนเยาวชน จากสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยชายและหญิงรวมสองคนได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการระดับชาติเพ่ือทําา หน้าที่กําากับติดตาม และให้มีสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนอีกสองคนเป็นตัวแทนในคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ สําานักงานประเทศไทย(UNFPAThailand) เห็นว่าจําาเป็นต้องเตรียมความพร้อมผู้แทน เยาวชนเหล่านี้ให้มีศักยภาพเพื่อสามารถทําาหน้าท่ีเป็นผู้พิทักษ์สิทธิวัยรุ่น และกําากับติดตามการดําาเนินงานของหน่วยงานทั้ง 5 กระทรวงหลักท่ีถูกระบุไว้ใน พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
ดังน้ัน ในปี 2559 UNFPA และมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) จึงริเริ่มจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสําารวจ ความเห็นเยาวชนโดยเชิญผู้แทนจากสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดและจากเครือข่ายเยาวชนระดับท้องถิ่นมาร่วมกันวิเคราะห์ ถึงบทบาทของการทําางานเพื่อให้การมีส่วนร่วมของเยาวชนมีความหมายอย่างแท้จริง
ผลจากการประชุมทําาให้เยาวชนเห็นบทบาทของตนเองต่อชุมชนและการเชื่อมโยงทําางานแบบเป็นภาคี ซึ่งนําามาสู่การเรียก ร้องให้จัดการอบรมเพื่อเติมเต็มความรู้และทักษะที่จําาเป็นแก่เยาวชนที่ได้รับเลือกสามารถทําางานผลักดันเรียกร้องให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงด้านนโยบายที่เก่ียวข้องกับสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธ์ุวัยรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการพัฒนา ศักยภาพของเยาวชนไปพร้อมกัน