Go Back Go Back
Go Back Go Back
Go Back Go Back

รายงานการทบทวนเชิงกลยุทธ์และข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙

รายงานการทบทวนเชิงกลยุทธ์และข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙
รายงานการทบทวนเชิงกลยุทธ์และข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙

Publisher

Number of pages

30

Author

UNFPA Thailand

Technical Reports and Document

รายงานการทบทวนเชิงกลยุทธ์และข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙

Publication date

27 June 2017

Download Icon

รายงานการทบทวนเชิงกลยุทธ์และข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยการประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์และประสบการณ์จากประเทศอังกฤษ

ประเทศไทยอยู่ในฐานะผู้นำทางให้แก่ประเทศอื่น ๆ ที่กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายเกี่ยวกับวัยรุ่นในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในด้านสังคมและด้านที่เกี่ยวกับเพศ ประเด็นสำคัญของประเทศไทย คือ การเน้นย้ำถึงสิทธิของวัยรุ่นในการได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านการเรียนการสอนเรื่องเพศที่เหมาะสม และการจัดให้มีบริการที่เข้าถึงได้และดึงดูดใจวัยรุ่น

รายงานฉบับนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งจัดโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ร่วมกับกรมอนามัย ระหว่างวันที่ ๒๒-๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา โดยเป็นการนำเสนอข้อคิดเห็นจากมุมมองและประสบการณ์ของ ศาสตราจารย์ โรเจอร์ อิงแฮม ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะที่ปรึกษาอิสระด้านการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตลอดระยะเวลาสิบปีของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศอังกฤษในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๕๗   รายงานฉบับนี้ไม่เพียงแต่เป็นการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกลไกในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ แต่ยังเป็นการสรุปความรู้เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศอังกฤษ เพื่อสามารถนำไปพิจารณาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยตามความเหมาะสม

กล่าวโดยสรุป รายงานฉบับนี้ได้เสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

ข้อเสนอแนะด้านกลไกการจัดการและการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ    

๑.๑ โครงสร้างการบริหารจัดการและการทำงานแบบข้ามกระทรวง                  

๑.๒  การจัดให้มีคณะที่ปรึกษาอิสระด้านการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น                        

๑.๓  การจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ

๑.๔  การจัดให้มีคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการและการนำรูปแบบกลไกการขับเคลื่อนของส่วนกลางไปใช้กับระดับจังหวัดและท้องถิ่น     

๑.๕  การจัดให้มีกลไกการมีส่วนร่วมของวัยรุ่นและเยาวชน                      

๑.๖   การปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ

๑.๗  แนวทางเกี่ยวกับการรับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ         

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อองค์ประกอบทั้ง ๕ ด้านของยุทธศาสตร์ฯ                            

ยุทธศาสตร์ที่ ๑   พัฒนาระบบการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตที่มีคุณภาพ และมีระบบการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม

๑.๑  วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อระบุอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาในระบบการศึกษา

๑.๒  ทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาของหลักสูตรเพศวิถีศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มุ่งเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่คำนึงถึงการสร้างสัมพันธภาพและความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเป็นหลักสูตร
ที่มีประสิทธิผลสูงสุด

๑.๓  จัดการฝึกหัดและอบรมการสอนเพศวิถีศึกษาแก่นักศึกษาวิชาชีพครูในระดับมหาวิทยาลัย และแก่ผู้สอน     วิชาเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาหรือผู้สอนที่เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่มีความมุ่งมั่นต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

๑.๔  จัดให้มีการติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง (รวมถึงการให้ความเห็นอย่างต่อเนื่องจากตัววัยรุ่นเอง)

๑.๕  ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ความฉลาดรู้เรื่องเพศ และความตระหนักเรื่องการมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนในทุกระดับและสังกัดที่เกี่ยวข้อง

ยุทธศาสตร์ที่ ๒    ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบกิจการในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น

๒.๑  จัดทำการสำรวจความกังวลใจและความกลัวของพ่อแม่ผู้ปกครองต่อการพูดคุยเรื่องเพศกับบุตรหลาน   และนำข้อค้นพบมาพัฒนารูปแบบการส่งเสริมที่จำเป็นให้แก่พ่อแม่และผู้ปกครอง

๒.๒  ส่งเสริมให้มีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างโรงเรียนและพ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาในโรงเรียน

๒.๓  รวบรวมรูปแบบและวิธีการต่างๆที่มีการดำเนินงานได้ผลดีในระดับพื้นที่ ในด้านการส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบกิจการในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น เพื่อให้พื้นที่อื่นๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเอง

ยุทธศาสตร์ที่ ๓    พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร

๓.๑  ทำวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณกับวัยรุ่น เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการจัดบริการ และการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่วัยรุ่นต้องการ และจัดทำการประเมินการให้บริการโดยให้วัยรุ่นเป็นผู้ประเมินด้วยตนเอง

๓.๒  ค้นหาและทำงานกับภาคีด้านสื่อ โดยเฉพาะสื่อสมัยใหม่ เพื่อกระตุ้นให้วัยรุ่นเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตรเพิ่มมากขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ ๔    พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ การคุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมในกลุ่มวัยรุ่น

๔.๑  จัดระบบการดูแลช่วยเหลือที่จำเป็นแก่พ่อแม่วัยรุ่น ทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ โดยใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่

๔.๒  จัดให้มีระบบการคุ้มครองสิทธิของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ให้สามารถศึกษาต่อจนจบได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาต่อในสถานศึกษา หรือการศึกษาต่อในรูปแบบอื่นๆ

ยุทธศาสตร์ที่ ๕    ส่งเสริมการบูรณาการการจัดการฐานข้อมูล งานวิจัย และการจัดการความรู้

๕.๑  จัดตั้งศูนย์กลางในการเก็บและรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์[1] และ จัดให้มีคณะทำงานด้านข้อมูล งานวิจัย และการจัดการความรู้ เป็นการเฉพาะ เพื่อส่งเสริมการจัดการข้อมูล ความรู้ และงานวิจัย ดังนี้

๕.๑.๑   มีระบบบันทึกความก้าวหน้าในการดำเนินงานของทุกยุทธศาสตร์ย่อย โดยอาจพิจารณาประยุกต์ใช้เครื่องมือในการติดตามความก้าวหน้าจากประเทศอังกฤษ

๕.๑.๒   ศึกษาความคุ้มค่าของการลงทุนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในวันนี้ เพื่อยืนยันผลดีที่ภาครัฐและสังคมจะได้รับในอนาคต

๕.๑.๓   นำข้อมูลงานวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่มีอยู่แล้ว รวมถึงงานวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยใหม่ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น  ทั้งนี้ ควรพิจารณาจัดเวทีการประชุมนักวิจัยจากสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นประจำ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์ ผลงานวิจัย และเพื่อจุดประกายความคิดเกี่ยวกับการวิจัยต่อไป

 



[1] ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศอังกฤษประสบความสำเร็จในการลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลงครึ่งหนึ่งในระยะเวลาสิบปีได้ คือการมีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือจึงทำให้สามารถปรับกลยุทธ์ในการดำเนินงานได้ทันท่วงที และมีการถอดบทเรียนจากพื้นที่ที่มีความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อให้พื้นที่อื่นๆนำไปประยุกต์ใช้