Go Back Go Back
Go Back Go Back
Go Back Go Back

บัญชีกระแสการโอนประชาชาติ ของประเทศไทย 2564 National Transfer Accounts 2021

บัญชีกระแสการโอนประชาชาติ ของประเทศไทย 2564 National Transfer Accounts 2021
บัญชีกระแสการโอนประชาชาติ ของประเทศไทย 2564 National Transfer Accounts 2021

Publisher

NESDC UNFPA Thailand

Number of pages

33

Author

UNFPA Thailand

Publication

บัญชีกระแสการโอนประชาชาติ ของประเทศไทย 2564 National Transfer Accounts 2021

Publication date

13 December 2023

Download Icon

บัญชีกระแสการโอนประชาชาติของประเทศไทย ปี 2564 (National Transfer Accounts : Country Brief)

ในช่วงปี 2562 – 2564 ที่ผ่านมา การแพร่ ได้กลายเป็นวิกฤตการณ์สาคัญที่ประเทศไทยเผชิญปรากฎการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อกิจวัตรประจาวัน รูปแบบในการใช้ชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และการทางานเพื่อหารายได้ของประชากรในทุกช่วงวัย ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยสัดส่วนประชากรวัยเด็กและ วัยแรงงานกาลังลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สัดส่วนวัยสูงอายุปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังอุปทานของตลาดแรงงานในอนาคต ปัญหาที่กล่าวมาส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในทางบวกและ ทางลบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ภาครัฐจึงต้องมีการกาหนดแนวทางการบริหารจัดการและมาตรการรับมือปัญหาที่เริ่มเกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้ชัดเจน พร้อมทั้งสร้างนโยบายต่าง ๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับโครงสร้างประชากรที่มีความต้องการแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ บัญชีกระแสการโอนประชาติ (National Transfer Account: NTA) เป็นหนึ่งในเครื่องมือสาคัญที่นาเสนอหลักฐานเชิงประจักษ์ให้เห็นผลกระทบและความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางเศรษฐกิจและโครงสร้างประชากรของประเทศ โดยบัญชีกระแสการโอนประชาติ ปี 2564 ช่วยให้เห็นผลกระทบ ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละช่วงอายุจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างชัดเจน นาไปสู่การวิเคราะห์สถานการณ์และมาตรการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ บัญชีกระแสการโอนประชาชาติ ปี 2564 จะนาเสนอข้อมูลในรูปแบบมูลค่าและแบบแผนของรายการต่าง ๆ เป็น 2 ส่วน คือ (1) มูลค่าของค่าเฉลี่ยต่อคน (Average values per person) เป็นรายอายุ เพื่อนาเสนอว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ประชากรในแต่ละอายุ มีรายได้จากแรงงาน การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค การจัดสรรสินทรัพย์ และการโอนเป็นเท่าไร รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากน้อยเพียงใด และ (2) มูลค่ารวมทั้งประเทศ (National aggregate values) ซึ่งมีความสอดคล้องกับมูลค่าภาพรวมในบัญชีรายได้ประชาชาติของประเทศ และมีค่าเท่ากับการนาค่าเฉลี่ยรายอายุมาคูณกับจานวนประชากรในแต่ละอายุ เพื่อนาเสนอว่าในภาพรวมของประเทศ แบบแผนการมีรายได้ การใช้จ่าย การจัดสรรสินทรัพย์ และการโอนของประชากรแต่ละอายุเป็นอย่างไร มีการขาดดุลรายได้ทั้งหมดเป็นมูลค่าเท่าใด และนาไปสู่แนวทางของการออกนโยบายและมาตรการเพื่อชดเชยการขาดดุลรายได้ของประเทศต่อไป