แม่วัยรุ่นอยู่ที่ไหน
เปิดตัวรายงานการบูรณาการข้อมูลเพื่อลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
วันพฤหัสบดี ที่ 31 ตุลาคม 2562, 08.30-12.00 น.
ณ ห้องแคทลียา 2 โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ
ด้วยกรมอนามัย ร่วมกับกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สํานักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย สํานักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และ UNFPA (กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจําประเทศไทย) ร่วมกันจัดการศึกษา เรื่อง "แม่วัยรุ่นในประเทศไทย: การบูรณาการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายฐานข้อมูลในระดับประเทศและระดับพื้นที่" เพื่อตอบสนองต่อการวางแผนและการดําเนินงานลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อดําเนินการศึกษาแล้วเสร็จ จึงกําหนดให้มีการจัดงานแถลงข่าวและเสวนาเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาที่สําคัญ
กำหนดการ
8.30 – 9.30 น. |
ลงทะเบียน
|
9.30 – 10.15 น. (45 นาที) |
กล่าวเปิดงาน และแถลงข่าว เรื่อง “แม่วัยรุ่นอยู่ที่ไหน” โดย พญ. พรรณพิมล วิปุลากร – อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ ดร. วาสนา อิ่มเอม – รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย
|
10.15 – 10.20 น. |
ฉายวีดีทัศน์ เรื่องแม่วัยรุ่นจากเชียงของ (เสิร์ฟอาหารว่างในห้องประชุม)
|
10.20 – 10.30 น. |
เปิดวงเสวนาวิชาการ ดำเนินรายการโดย ดร. วาสนา อิ่มเอม – รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย
|
10.30 – 11.30 น. (60 นาที) |
เสวนาวิชาการ เรื่อง “ข้อมูลแม่วัยรุ่นได้มาอย่างไร” วิทยากร:
|
11.30 – 11.50 น. |
ถาม – ตอบ
|
11.50 – 12.00 น. |
ปิดการประชุม
|
12.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
|
ข้อมูลพื้นฐาน
ปัญหา “แม่วัยรุ่น” เป็นประเด็นสำคัญระดับโลก ในปี 2558 ภายใต้ “วาระเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ประชาคมโลกได้ร่วมรับรองการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งสิ้น 17 เป้าหมาย ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายนั้น คือ “การสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย” ในเป้าหมายนี้ ตัวชี้วัดหนึ่งที่สำคัญ คือ อัตราการคลอดในวัยรุ่นหญิงอายุ 10-14 ปี และ 15-19 ปี
แม้สถานการณ์แม่วัยรุ่นของประเทศไทยโดยรวมถือว่ามีแนวโน้มโดยรวมดีขึ้น แต่ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นความท้าทายของประเทศ “วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน” มีหลักแนวคิดและคำมั่นที่ว่า “จะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” ดังนั้น การแก้ปัญหาแม่วัยรุ่นจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้ตรงกับปัญหาและความต้องการของประชากรกลุ่มเสี่ยงในทุกพื้นที่ของประเทศ การบูรณาการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่เกี่ยวข้องที่มีในปัจจุบัน ซึ่งยังคงมีลักษณะแยกส่วน มีจุดแข็งและข้อจำกัดของแต่ละแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการฉายภาพสถานการณ์ปัญหา โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ และทำความเข้าใจถึง ปัจจัยสาเหตุของปัญหาในเรื่องนี้ เป็นความท้าทายที่มีความสำคัญ
ผลการวิเคราะห์สถานการณ์การคลอดในวัยรุ่นจากฐานทะเบียนเกิดในปี 2561 แสดงให้เห็นว่า เมื่อปรับที่อยู่ให้เป็นไปตามทะเบียนบ้านของแม่แล้ว มีความแตกต่างในสถานการณ์การคลอดในวัยรุ่นในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดชลบุรีที่เคยเป็นอันดับ 3 ในอัตราการคลอดของวัยรุ่นก่อนการปรับข้อมูลที่อยู่ เมื่อปรับข้อมูลให้สะท้อนที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของแม่ พบว่า จังหวัดชลบุรีกลายเป็นอันดับ 58 ของ การปรับข้อมูลให้สะท้อนที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของแม่วัยรุ่นมีความสำคัญอย่างมากในการสะท้อนให้เห็นพื้นที่เสี่ยงในประเทศไทย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการกำหนดนโยบายในระดับพื้นที่
อ่านรายงานฉบับเต็มและอินโฟกราฟฟิคได้ ที่นี่