Go Back Go Back
Go Back Go Back
Go Back Go Back

การจัดบริการคุมกำเนิดของโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2558

การจัดบริการคุมกำเนิดของโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2558
การจัดบริการคุมกำเนิดของโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2558

Publisher

UNFPA

Number of pages

118

Author

UNFPA Thailand

Technical Reports and Document

การจัดบริการคุมกำเนิดของโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2558

Publication date

01 January 2015

Download Icon

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการคุมกาเนิดในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนสาหรับประชากรทุกสิทธิและผลการจัดบริการคุมกาเนิดของโรงพยาบาลก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการปูองกันการตั้งครรภ์ซ้าในแม่วัยรุ่น

สรุปผลการศึกษาพบว่า

1) ด้านนโยบายมีความเห็นว่านโยบายเรื่องการให้บริการคุมกาเนิดสาหรับผู้รับบริการทุกสิทธิตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและโครงการปูองกันการตั้งครรภ์ซ้าในแม่วัยรุ่น เป็นนโยบายที่ดี เพราะช่วยลดปัญหากลุ่มวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม สามารถแก้ปัญหาด้านการเข้าถึงบริการของประชากรกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง

2) ด้านการให้บริการพบว่ามีบริการที่ครอบคลุมสิทธิทุกประเภท ถึงแม้จะไม่มีวิธีคุมกาเนิดที่หลากหลายไว้ให้บริการก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นกับการจัดหาเวชภัณฑ์คุมกาเนิดของโรงพยาบาล และความต้องการของผู้มารับบริการ 

3) ด้านการจัดหาเวชภัณฑ์โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะดาเนินการจัดซื้อเอง โดยเป็นการซื้อกับบริษัทยาโดยตรง ผู้ตัดสินใจจัดซื้อคือคณะกรรมการของโรงพยาบาล ส่วนการเบิกค่าบริการคุมกาเนิดแบบกึ่งถาวรตามโครงการปูองกันการตั้งครรภ์ซ้าในแม่วัยรุ่นโรงพยาบาลส่วนใหญ่ร้อยละ 74.8 มีปัญหาในการเบิกจ่ายผ่านระบบ e-claim

4) ปัญหาอุปสรรคที่พบ ได้แก่ ด้านการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปบางส่วนไม่ทราบสิทธิที่ตนพึงได้ สาหรับกลุ่มวัยรุ่นการรับรู้ข่าวสารที่ยังไม่ทั่วถึง ด้านการจัดหาเวชภัณฑ์ที่บางแห่งผู้บริหารไม่ให้ความสาคัญ

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

1) การให้บริการคุมกาเนิดแบบกึ่งถาวรแก่กลุ่มเปูาหมายที่อายุมากกว่า 20 ปี ให้ได้รับบริการตามความต้องการ ควรให้มีการเบิกจ่ายผ่านระบบ e-claim เช่นเดียวกับโครงการปูองกันการตั้งครรภ์ซ้าในแม่วัยรุ่น

2) ควรมีการติดตามประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการกลุ่มวัยรุ่นเพื่อประกอบการตัดสินใจปรับปรุงบริการ รวมทั้งขยายโครงการในระยะต่อไป

3) ควรผลิตสื่อชุดความรู้ ที่มีรูปแบบหลากหลาย หลายภาษา และทันสมัย 4) พิจารณาช่องทางการประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายทางสังคมที่สามารถเข้าถึงง่ายและเป็นที่นิยมของกลุ่มวัยรุ่น เพื่อเปิดโอกาสให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการบริการได้มากขึ้น