คุณอยู่ที่นี่

ปัจจุบันประเทศไทยมีการลดลงของอัตราการเจริยพันธุ์รวมและประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นวัยเด็กและวัยแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้โครงสร้างประชากรไทยเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมสูงวัยและมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ อาทิ การขาดแคลนแรงงานในอนาคต การเกิดธุรกิจใหม่เพื่อรองรับสังคมสูงวัย อย่างไรก็ตาม ในมิติความมั่นคงของประชากรโดยพิจารณาจากการออมซึ่งเป็นพื้นฐานของความมั่นคงของชีวิตที่ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ พบว่า ปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังมีระดับรายได้ค่อนข้างต่ำ มีเงินออมน้อย ซึ่งแตกต่างจากประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นประเทศรายได้สูงก่อนเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย 

จำนวนและคุณลักษณะของประชากรผสมผสานกับการเปลี่ยนแปลงทางบริบทเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้กรอบคิดและกระบวนทัศน์เชิงนโยบายใหม่ๆ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จำทำแผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ.2565-2580) เพื่อเป็นแนวทางในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงโครงสร้างและคุณลักษณะของประชากรซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ นำไปสู่สังคมที่คนไทยต้อง "เกิดดี อยู่ดี และแก่ดี" และเพื่อให้ประเทศไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน