Go Back Go Back
Go Back Go Back

โครงการความร่วมมือไตรภาคีแบบใต้-ใต้ระหว่างไทย-UNFPA-สปป.ลาวด้านสุขภาพมารดา (South-South and Triangular Cooperation on Safe Motherhood)

โครงการความร่วมมือไตรภาคีแบบใต้-ใต้ระหว่างไทย-UNFPA-สปป.ลาวด้านสุขภาพมารดา (South-South and Triangular Cooperation on Safe Motherhood)

News

โครงการความร่วมมือไตรภาคีแบบใต้-ใต้ระหว่างไทย-UNFPA-สปป.ลาวด้านสุขภาพมารดา (South-South and Triangular Cooperation on Safe Motherhood)

calendar_today 24 November 2017

 

โครงการความร่วมมือไตรภาคีแบบใต้-ใต้ระหว่างไทย-UNFPA-สปป.ลาวด้านสุขภาพมารดา (South-South and Triangular Cooperation on Safe Motherhood)

 

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 UNFPA (United Nations Population Fund) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลไทย โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency – TICA) กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดพิธีปิดโครงการความร่วมมือไตรภาคีแบบใต้-ใต้ระหว่างไทย-UNFPA-สปป.ลาวด้านสุขภาพมารดา (South-South and Triangular Cooperation on Safe Motherhood) เพื่อสนับสนุนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อสนับสนุนการลดจำนวนการเสียชีวิตของมารดาซึ่งยังอยู่ในระดับที่สูง โดยประเทศไทยเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการพัฒนาการผดุงครรภ์ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น Strengthening Lao Midwifery Educators 2 รุ่น

 

ผศ.ดร.เสาวมาศ คุณล้าน เถื่อนนาดี คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ประธานในพิธีปิดโครงการได้มอบใบประกาศนียบัตรและกล่าวให้โอวาทแก่ผู้ผ่านการอบรม 24 ท่าน ซึ่งประกอบด้วยของเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์ประจำโรงพยาบาลในแขวงต่าง ๆ ของ สปป.ลาว นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากเครือข่ายความร่วมมือไตรภาคี ซึ่งได้แก่ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ UNFPA กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขสปป.ลาว และผู้แทนจากแหล่งฝึกปฏิบัติงานกล่าวแสดงความยินดีและให้โอวาทแก่ผู้เข้าอบรม

 

การจัดการอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและยกระดับความสามารถด้านการปฏิบัติการผดุงครรภ์ และการจัดการเรียนการสอนของครูผดุงครรภ์และครูคลินิกซึ่งจะเป็นผู้ไปส่งต่อความรู้และประสบกาารณ์ให้กับผดุงครรภ์ในลาวต่อไป โดยการอบรมที่ภายใต้โครงการวามร่วมมือไตรภาคีแบบใต้-ใต้ระหว่างไทย-UNFPA-สปป.ลาวด้านสุขภาพมารดานี้เน้นให้ครูผดุงครรภ์ลาวได้เรียนรู้การผดุงครรภ์ตามมาตรฐานของ ICM-WHO (International Confederation of Midwives-World Health Organisation) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการจัดการศึกษาการผดุงครรภ์ของประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้มาตรฐานนี้ มี 3 ด้านที่มีความสำคัญคือ การบริหารจัดการหลักสูตรการผดุงครรภ์โดยสถาบัน การจัดการหลักสูตรการเรียนการสอน การมีระบบการประเมินศักยภาพของครูและนักเรียนการผดุงครรภ์

 

ดังนั้น โครงการรความร่วมมือไตรภาคีแบบใต้-ใต้นี้จึงเป็นการลงทุนสร้างศักยภาพและผลิตบุคลากรผู้ให้บริการด้านอนามัยมารดา – ทารก ให้มีประสิทธิภาพและผ่านมาตรฐานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพมารดาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อีกทั้งยังพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสาธารณสุข ของ สปป.ลาว และส่งเสริมการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนลาวให้เป็นไปอย่างทั่วถึง

 

คุณพรสวรรค์ ทัมวงสา รองหัวหน้าแผนกการศึกษามหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว

 

คุณพรสวรรค์ ทัมวงสา รองหัวหน้าแผนกการศึกษามหาวิทยาลัย กรมการศึกษาสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว ในฐานะตัวแทนรัฐบาลสปป.ลาว ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทย UNFPA กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ โดยเฉพาะคณาจารย์ที่ได้ให้ความรู้ คำแนะนำในการอบรมฯ ในครั้งนี้  

 

คุณปิ่นทอง วรรณรัศมี ครูผดุงครรภ์จากโรงพยาบาลมิตรภาพ นครหลวงเวียงจันมอบที่ระลึกแด่ผศ.ดร.เสาวมาศ คุณล้าน เถื่อนนาดี คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อเป็นการขอบคุณคณาจารย์ที่ให้การอบรม

 

คุณปิ่นทอง วรรณรัศมี ครูผดุงครรภ์จากโรงพยาบาลมิตรภาพ นครหลวงเวียงจัน เป็นหนึ่งในครูผดุงครรภ์ 24 ท่านที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรระยะสั้น Strengthening Lao Midwifery Educators รุ่นที่ 2 ได้กล่าวหลังจบการอบรมว่า “การอบรมระยะสั้นนี้มีประโยชน์กับตัวเองมาก เนื่องจากครูผู้สอนให้ความรู้และได้ให้ลงปฏิบัติในห้องรอคลอดจริงๆ ซึ่งนี่ทำให้ตัวเองมีความมั่นใจมากว่าเมื่อกลับไปจะสามารถรับมือกับเคส (การตั้งครรภ์) ที่มีความซับซ้อนได้”

 

ทั้งนี้การจัดฝึกอบรมเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่าง รัฐบาลไทย โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency - TICA ) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund -UNFPA)  และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดย กระทรวงสาธารณสุข (Ministry of Health,Lao PDR) โดยการอบรมหลักสูตรระยะสั้น Strengthening Lao Midwifery Educators รุ่นแรกมีระยะเวลา 4 เดือนระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน -9 ธันวาคม 2559 รุ่นที่ 2 มีระยะเวลา 6 เดือนระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 24 พฤศจิกายน 2560