Go Back Go Back
Go Back Go Back

แถลงการณ์: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ขานรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

แถลงการณ์: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ขานรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

News

แถลงการณ์: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ขานรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

calendar_today 27 July 2015

27 กรกฎาคม 2558, กรุงเทพฯ -- กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) ยินดียิ่งต่อความคืบหน้าในความพยายามของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การเคลื่อนไหวของคณะสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการผลักดันกฎหมายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา เป็นก้าวที่ดีในการช่วยให้เยาวชนไทยสามารถใช้สิทธิทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ได้เป็นอย่างดี

กว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมา กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย ได้ร่วมสนับสนุนและเป็นกำลังสำคัญในการวางแผนครอบครัวของประเทศไทยและสนับสนุนนโยบายและการบังคับใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทยยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะสานต่อการสนับสนุนประเทศที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ระดับกลางไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ที่ซึ่งทุกชีวิตมีความสำคัญและศักยภาพของทุกคนควรได้รับการเติมเต็ม การป้องกันเยาวชนจากการขาดความรู้และการสร้างความมั่นใจในการให้บริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์อย่างครอบคลุมจะช่วยให้ความสามารถของเยาวชนได้รับการเติมเต็มสูงสุดในการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทยสนับสนุน 3 ส่วนหลักของร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ การสนับสนุนการเรียนเพศศึกษาภาคบังคับอย่างครอบคลุมในทุกสถาบันการศึกษา การบริการอนามัยทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่น และการอนุญาตให้นักเรียนที่ตั้งครรภ์แล้วกลับเข้าไปศึกษาต่อได้ นอกจากนี้กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติฯ สนับสนุนผลักดันให้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นควรตั้งอยู่บนบรรทัดฐานของปฏิญญาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งสนับสนุนการสร้างศักยภาพและการมีส่วนร่วมของเยาวชน กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทยสนับสนุนการแก้ไขหมวด 4 ของร่างพระราชบัญญัติเพื่อจะทำให้แน่ใจว่าประเทศไทยจะทำตามสิทธิในการมีส่วนร่วมของเยาวชน เคารพและสนับสนุนสิทธิของเยาวชนในการตัดสินใจด้วยตนเองในเรื่องทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ เพราะจากประสบการณ์จากหลายชาติที่ผ่านมา การป้องกันและการยกระดับแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับการสร้างศักยภาพและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

คุณ คาสปาร์ พีค ผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประประชาชาติประจำประเทศไทยและผู้อำนวยการของประเทศมาเลเซีย ได้ให้ความคิดเห็นต่อการร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของ สนช. ต่อคณะรัฐมนตรีว่า "กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยสนับสนุนการเห็นความสำคัญต่อประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของ สนช. ในการที่จะแก้ไขปัญหาเร่งด่วนนี้ อย่างไรก็ตามการริเริ่มกฎหมายนี้ควรอยู่บนพื้นฐานความเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ตามความเชื่อ และควรที่จะฟังเสียงของเยาวชนและสร้างศักยภาพให้กับพวกเขา ด้วยวิธีนี้ พรบ.ดังกล่าวจะสนับสนุนให้เยาวชนมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนในฐานะประชาชนคนหนึ่ง การป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่นกว่าแสนคนทุกปีจะทำให้ประเทศไทยมีแรงงานที่มีทักษะความสามารถและสามารถรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจต่อสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ได้"

คุณพีคยังเห็นด้วยว่าควรใช้แนวทางความสำเร็จจากประสบการณ์นานาชาติในการป้องกันและยกระดับปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยการให้ความสำคัญกับส่วนประกอบหลัก ได้แก่ การสร้างศักยภาพเยาวชนให้มีความรู้และทักษะที่ใช้ได้จริงในเรื่องอนามัยทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ และการเข้าถึงการให้บริการทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์อย่างทั่วถึงเพื่อที่จะปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวของวัยรุ่น การรักษาข้อมูลส่วนบุคคล การเคารพและการยินยอมของวัยรุ่น เยาวชนที่ได้รับการสนับสนุนสิทธิทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์จะสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความรับผิดชอบทั้งทางด้านเพศและสังคม

ร่วมสนับสนุนการผ่านพรบ.นี้โดยการแชร์แถลงการณ์ของ UNFPA ผ่าน www.facebook.com/UnfpaThailand พร้อมกับ แฮชแทค #TeenPregnancyBillforThailand

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ได้ที่ www.thaiunfpa.org.

สำหรับข้อมูลสื่อมวลชนเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณกุลวดี สุมาลย์นพ sumalnop@unfpa.org หรือที่เบอร์ 02-687-0130