Go Back Go Back
Go Back Go Back
Go Back Go Back

ประเทศไทยเตรียมนำยุทธศาสตร์การลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจากอังกฤษมาปรับใช้

ประเทศไทยเตรียมนำยุทธศาสตร์การลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจากอังกฤษมาปรับใช้

ประเทศไทยเตรียมนำยุทธศาสตร์การลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจากอังกฤษมาปรับใช้

calendar_today 22 March 2017

แม่วัยใส

จากหนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน โดย ซัลลี เวล

ประเทศไทยเตรียมที่จะนำยุทธศาสตร์การลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจากอังกฤษมาปรับใช้โดยหวังว่าจะสามารถประสบผลสัมฤทธิ์เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วว่ายุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวสามารถลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในอังกฤษลงได้ถึงครึ่ง

อัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในอังกฤษและในเวลส์ลดลงถึงระดับต่ำที่สุดเท่าที่เคยเก็บสถิติมา และตัวเลขดังกล่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษที่ตีพิมพ์ออกมา ณ วันที่ 22 มีนาคม 2560 ก็มีแนวโน้มว่าจะลดลงอีก โดยปรากฎการณ์นี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นความสำเร็จที่ยอดเยี่ยมมาก

ด้วยเหตุนี้เอง ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจึงเตรียมที่จะนำเอาองค์ประกอบหลักในยุทธศาสตร์ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจากประเทศอังกฤษมาปรับใช้เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ลงให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในอีก 10 ปี ข้างหน้า

ยุทธศาสตร์ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ทางรัฐบาลพรรคแรงงานได้กำหนดขึ้น ณ ปี 2542 เพื่อรับมือกับอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่พุ่งสูงขึ้นในอังกฤษ โดยส่วนมากเป็นการตั้งครรภ์จากกลุ่มวัยรุ่นที่ขาดปัจจัยต่างๆ ในการดำรงชีวิต ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินยุทธศาสตร์นี้คืออัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลดลงถึงร้อยละ 51 โดยปัจจัยที่มีส่วนในความสำเร็จนี้คือการศึกษาที่ดีขึ้นและการที่วัยรุ่นสามารถเข้าถึงการวางแผนครอบครัวที่เข้ากับยุคสมัยได้มากขึ้น

แม้ว่าอัตราการตั้งครรภ์ประเทศอังกฤษจะสูงมากซึ่งถือว่ายังตามหลังประเทศยุโรปอื่นๆ ทั้งนี้เมื่อเทียบกับประเทศเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และประเทศในแถบสแกนดิเนเวียแล้ว อัตราฯ ดังกล่าวในประเทศอังกฤษยังถือว่าสูงอยู่มาก กระนั้นเอง โครงการการลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ทำมาแล้วทั่วโลกเป็นจำนวนน้อยมากที่สามารถประสบผลความสำเร็จเช่นในประเทศอังกฤษ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่องค์การอนามัยโลกได้กล่าวไว้

ตัวเลขที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ณ ปี 2557 คือ 23 คนต่อวัยรุ่นหญิง 1,000 คน จากที่ ปี 2541 คือ 47 คนต่อวัยรุ่นหญิง 1,000 คน

แม้ว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตำรวจ (ในอังกฤษ) ทำการสืบสวนกรณีเด็กสาวอายุ 11 ปีตั้งครรภ์ ซึ่งกลายเป็นกรณีแม่วัยรุ่นที่อายุน้อยที่สุดในสหราชอาณาจักร ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านการลดการตั้งครรภ์ในแม่วัยรุ่นได้กล่าวว่าจำนวนแม่วัยรุ่นในปี 2558 ซึ่งจะเปิดเผยภายในปลายเดือนมีนาคม จะอยู่ในระดับที่ดีขึ้นอีกจากปีที่ผ่านๆ มา

อลิสัน ฮัดลีย์ ผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มหาวิทยาลัยเบดฟอร์ดเชอร์และเป็นผู้นำการดำเนินการยุทธศาสตร์การลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กล่าวว่า ตัวเลขการตั้งครรภ์ในแม่วัยรุ่นใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2558 ลดลงมาก อลิสันกล่าวว่า “ดิฉันคาดว่า ตัวเลขน่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องถ้าไม่ได้มีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีดังกล่าว”

เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยได้เดินทางไปสหราชอาณาจักรเพื่อดูการดำเนินงานยุทธสาสตร์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยได้เยี่ยมศูนย์ให้บริการการให้คำปรึกษาและบริการด้านการคุมกำเนิดแก่วัยรุ่นที่ตั้งอยู่ในเขตแฮคนีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของลอนดอน และได้เข้าสังเกตุคอร์สอบรมเพื่อช่วยให้พ่อแม่ / ผู้ปกครองรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องพูดคุยเรื่องเพศและความสัมพันธ์กับลูกที่อยู่ในวัยรุ่นของพวกตน

ดังนั้นเอง ณ ขณะนี้ หน่วยงานของไทยกำลังเริ่มดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การลดการตั้งครรภ์ใสวัยรุ่น โดยมุ่งนำ 10 ปัจจัยในยุทธศาสตร์ฯ ของอังกฤษมาปรับใช้ โดยเฉพาะวิธีการทำงานแบบบูรณาการในส่วนต่างๆ ของหน่วยงานราชการ การใช้ข้อมูลในการติดตามผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์ฯ หลักสูตรการเรียนเรื่องเพศวิถีและเรื่องความสัมพันธ์ และการให้ความช่วยเหลือพ่อแม่วัยรุ่นเพื่อไม่ให้อยู่ในวงจรแห่งความยากจน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีของไทยจะพิจารณาอนุมิตร่างยุทธศาสตร์การลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายในปี 2560 นี้

ดร. วาสนา อิ่มเอม ผู้ช่วยผู้แทน UNFPA กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวว่า อัตราการตั้งครรภ์ในเด็กวัยรุ่นหญิงอายุ 15 – 19 ปีในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นจาก 31 เป็น 54 คนต่อวัยรุ่นหญิง 1,000 คน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74 ในระหว่างปี 2543 – 2555 อัตราฯ ดังกล่าว ได้ลดลงเป็น 44 คนต่อวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน ในปี 2558 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ดร.วาสนาเปิดเผยว่า “ในขณะเดียวกัน จำนวนการคลอดจากวัยรุ่นหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปีได้เพิ่มขึ้น จาก 1,700 รายเป็น 3,700 รายต่อปี ในช่วงปี 2546 – 25555 ทั้งนี้ โดยรวมแล้ว ในแต่ละปีจะมีเด็กวัยรุ่นหญิงอายุ 10 – 14 ปี ประมาณร้อยละ 0.15 หรือประมาณ 3,000 คนคลอดลูกก่อนที่ตัวเองจะครบ 15 ปี”

ดร.วาสนากล่าวอีกด้วยว่าประเทศไทยหวังที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้มาจากประเทศอังกฤษเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนเรื่องเพศวิถีและเรื่องความสัมพันธ์ซึ่งต่อไปจะเป็นการเรียนการสอนที่บังคับใช้ในทุกโรงเรียนมาปรับใช้ในการดำเนินยุทธศาสตร์ฯ รวมไปถึงการให้บริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นในลักษณะที่สนับสนุนให้วัยรุ่นกล้าออกมารับคำแนะนำเรื่องการคุมกำเนิดและสุขภาวะทางเพศภายใต้สังคมที่ยังมีความเห็นเรื่องเพศในแนวอนุรักษ์และการยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งนั้นยังไม่ถูกกฎหมาย

อลิสันกล่าวถึงความสำเร็จในการดำเนินยุทธศาสตร์ฯ ในประเทศอังกฤษว่า “เราสามารถลดการตั้งครรภ์ลงได้อย่างมาก แต่ยังต้องทำมากขึ้นไปอีก เนื่องจากอัตราการตั้งครรถ์ในวัยรุ่นในประเทศอังกฤษยังคงสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศยุโรปอื่นๆ ที่อยู่ในแถบยุโรปตะวันตก อังกฤษกำลังทำให้ตัวเลขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลดลง แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ยังห่างไกลจากประเทศเพื่อนบ้านอยู่”

อ่านรายงานสถานการณ์แม่วัยใสไทยได้ที่ https://thailand.unfpa.org/publications/state-thailands-population-report-2013

ทำความรู้จักพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 https://thailand.unfpa.org/publications/infographic-adolescent-pregnancy-prevention-and-alleviation-act-ad-2016