Go Back Go Back
Go Back Go Back
Go Back Go Back

การสร้างเพื่อนใจในโรงเรียน

การสร้างเพื่อนใจในโรงเรียน

News

การสร้างเพื่อนใจในโรงเรียน

calendar_today 16 March 2017

การสร้างเพื่อนใจในโรงเรียน

ดูวิดีโอเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ที่นี่

ถ้าเพื่อนหนูเกิดท้องขึ้นมา หนูจะต้องปลอบเพื่อนและให้กำลังใจ เพื่อให้เพื่อนสบายใจ แล้วหนูก็พร้อมที่จะช่วยเมื่อเพื่อนต้องการ ดลชนก ยอมิน แกนนำนักเรียนหญิงเล่าระหว่างการอบรมแกนนำนักเรียนที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ การอบรมนี้จัดขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมแกนนำนักเรียนในกรณีการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในโรงเรียนของตน

จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าอัตราการท้องไม่พร้อมในวัยรุ่นยังสูง โดยปี 2558 พบว่าจำนวนการคลอดในวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปีอยู่ที่ 104,289 ราย หรือร้อยละ 15 ของการเกิดจากจำนวนหญิงคลอดทั้งหมดในปีนั้นที่มีจำนวน 711,805 ราย

ที่โรงเรียนเราเก็บสถิติทุกปีนะคะ เร่ิ่มต้นตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ก็ตั้งแต่เก็บสถิติมาปัญหาเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี รวมทั้งเมื่อปัญหามันเกิดมากขึ้น เราพยายามส่งเสริมให้ความรู้และสนับสนุนให้มีการเข้ามาจัดกิจกรรมภายใจโรงเรียน ก็ทำให้ปัญหาลดลง ซึ่งอาจจะดูว่าสวนทางกับปัญหาที่เกิดขึ้นภายนอกโรงเรียน” อาจารย์นิศารัตน์ รักษาศรี แกนนำครูสตรีจากโรงเรียนวัดปากบ่อ กรุงเทพฯ กล่าว

การอบรมสร้างเครือข่ายระหว่างครูและนักเรียนและสร้างแกนนำนักเรียนเรื่องสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์นี้ดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โดยได้รับการสนับสนุนจาก UNFPA กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ

 

การอบรมนี้นำแกนนำนักเรียนและครู มีนักเรียนชั้นมัธยม 2 และครูจาก 11 โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครมาร่วมเรียนรู้การจัดการปัญหาการท้องไม่พร้อมในโรงเรียน ในโครงการนี้แกนนำนักเรียนได้มีโอกาศร่วมอบรมกับคุณหมอธาริณี ล้ำลึก จากโรงพยาบาลพญาไท 2 โดยคุณหมอได้กล่าวว่าในปัจจุบันมีอัตราการตั้งท้องในวัยรุ่นมากขึ้น อาจจะมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามมาด้วย ซึ่งจริงๆ เราสามารถที่จะให้ความรู้เด็กๆได้ซึ่งจะทำให้เด็กๆ มีความรู้สามารถที่จะแก้ปัญหาตัวเองได้ส่วนหนึ่ง

 

นอกจากนี้แกนนำนักเรียนยังได้มีโอกาสฝึกการโทรศัพท์หาสายด่วน1663 ซึ่งเป็นสายด่วนสำหรับกรณีการท้องเมื่อไม่พร้อมหรือมีข้อสงสัยเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เราบอกนักเรียนให้เตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนการโทรศัพท์ อาจารย์สมยศ วงศ์เขียน ครูแกนนำชายจากโรงเรียนลาดกระบังกล่าว นักเรียนแกนนำต้องรู้ข้อมูลเรื่องประจำเดือนของเพื่อน การมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายของเพื่อน เพื่อที่จะสามารถบอกข้อมูลนี้ทางโทรศัพท์ได้” อาจารย์สมยศกล่าวเสริมว่าการให้เด็กนักเรียนแกนนำเข้าหาเด็กที่มีปัญหานั้นเป็นการจัดการปัญหาที่ดี

เวลาผมเห็นเพื่อนเศร้า ผมก็จะเข้าไปถามเพื่อนว่าเป็นยังไง วีระภัทร ดวงแสนดี แกนนำนักเรียนกล่าว ผมจะถามว่าประจำเดือนมามั้ย หรือว่าเพื่อนเคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่

ผู้ใหญ่มักไม่ต้องการให้เราพูดหรือคิดเรื่องเพศ เพราะยังเป็นเด็ก ดลชนกปรารภ เพราะไม่ต้องการให้เราท้องหรือติดโรค แต่หนูคิดว่ามันน่าจะดีกว่าที่จะมีความรู้เรื่องนี้ เพราะเมื่อถึงเวลาน้้นเราจะได้รู้ว่าเราทำอะไรและเราจะมีความรุ้สามารถป้องกันตัวเองได้