คุณอยู่ที่นี่

กรุงเทพฯ วันที่ 22 กันยายน 2566 –  กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ประจำประเทศไทยและองค์การแฟมิลี่ เฮลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค(FHI 360) ร่วมกันแถลงผลการประเมินความอยู่รอดและเปราะบางของโรงพยาบาลและหน่วยบริการด้านสาธารณสุขในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นการริเริ่มความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ครั้งสำคัญระหว่างสองหน่วยงาน เพื่อยกระดับให้โรงพยาบาลและหน่วยบริการสาธารณสุขได้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการบริการสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างยั่งยืน และสามารถรับมือกับความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Opening remarks for GVA/CVA Assessments conference by Dr. Asa Torkelsson
กล่าวเปิดโดย ดร. โอซา ทอคิลส์สัน ผู้อำนวยการ UNFPA ประจำประเทศไทย และผู้แทน UNFPA ประจำประเทศมาเลเซีย

 

การบริการสาธารณสุขทั่วโลกนั้นมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 4 ซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันสถานการณ์ที่เกี่ยวขัองกับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง พายุ และมลพิษทางอากาศ นับเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขของประชาชาชน รวมถึงเริ่มเป็นภัยคุกคามต่อโครงสร้างขั้นพื้นฐาน จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและสุขภาวะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทั่วโลกเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชากรเปราะบางที่มีความเสี่ยงมากที่สุดและไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างเท่าทัน

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ภายใน พ.ศ.2573 ความเสียหายโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจมีมูลค่าสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการบรรเทาปัญหาเหล่านี้จะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงและความเปราะบางด้านสภาพภูมิอากาศที่มีผลสถานพยาบาลและข้อบกพร่องต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนฐานข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้แก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจในการพัฒนากลยุทธ์ เทคโนโลยี และนโยบายที่นำเอาปรับใช้ให้เหมาะกับภาคส่วนสุขภาพ ซึ่งต้องมีความต่อเนื่อง และมีคุณภาพสูง

 

ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่าง UNFPA ประเทศไทย และ FHI 360 ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญ โดยจะนำผลการประเมินมาพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางและสนับสนุนการดำเนินงานด้านนี้ให้กับประเทศไทยมากขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีในการปกป้องและยกระดับสุขภาพของชุมชนทั้งหมด รวมถึงสุขภาพของแม่และผู้ผ่านพ้นการยุติความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเน้นที่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงซึ่งได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งตัวชี้วัดความสำเร็จของการประเมินนี้ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนและการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทประเทศไทย นับว่าเป็นศักยภาพอันแข็งแกร่งซึ่งสามารถขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ในวงกว้างมากขึ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย นางสาวสิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA ประเทศไทย กล่าว

 

ดร.เอมี่ ไวส์แมน รองผู้อำนวยการภูมิภาค องค์การแฟมิลี่ เฮลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค (FHI 360) กล่าวย้ำประเด็นสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ว่า  "เราหวังว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับการริเริ่มโครงการด้านการดูแลสุขภาพที่เชื่อมโยงกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเท่าทัน ซึ่งการประเมินนี้จัดทำเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายที่เฉพาะตัว  ไม่ใช่เฉพาะแต่ในประเทศไทย ยังรวมถึงทั่วโลกด้วย นับเป็นความมุ่งมั่นของสถานพยาบาลที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างเท่าทันสำหรับการบริการด้านสาธารณสุขให้กับประชาชน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”​

 

ความร่วมมือนี้นับเป็นครั้งสำคัญในประเด็นด้านสาธารณสุขและการรับมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเท่าทัน ซึ่งส่งเสริมทางแนวด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนเพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการรับมือกับความท้าทายถึงสองประการ ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการทำงานด้านการบริการสาธาณสุขต่อไป 

 

อ่านข่าวเพิ่มเติมที่:

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ UNFPA

UNFPA เป็นหน่วยงานด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของสหประชาชาติ ภายใต้ทีมงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ความร่วมมือของ UNFPA ในประเทศไทยสอดคล้องกับกรอบความร่วมมือการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UNSDCF) พ.ศ.2565-2569 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ของประเทศไทย (พ.ศ.2566-2570) รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยการกำจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ และการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา (ICPD)

UNFPA มุ่งดำเนินงานโดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ประกอบด้วยหลัก 3 ประการ ดังนี้

  1. พื้นที่การปฏิบัติงานเพื่อดำเนินนโยบายและครอบคลุมสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนให้ได้รับความรู้และทักษะด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศ รวมถึงสิทธิอนามัยการการเจริญพันธุ์โดยมุ่งเน้นวางแผนครอบครัวอย่างมีส่วนร่วมและติดตามพ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 (AP Act) 
  2. ผลักดันนโยบายที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันและยุติความรุนแรงด้วยหตุแห่งเพศในทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย
  3. เพิ่มความเข้มแข็งนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้ข้อมูลและผลวิจัยเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของประชากรและกระแสหลักของโลกเข้าด้วยกัน รวมถึงอายุของประชากรและความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อพัฒนาและติดตามนโยบายและแผนงานด้านประชากรอย่างยั่งยืน

อ่านแผนงานระดับประเทศฉบับเต็มได้ ที่นี่ หรือเอกสารแนะนำ UNFPA ประเทศไทย ที่นี่

 

ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ FHI360

องค์การแฟมิลี่ เฮลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (FHI 360) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลกที่มุ่งเน้นการวิจัย  ระดมทรัพยากรต่างๆ และความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสการมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยดำเนินการด้านความร่วมมือในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และทำงานโดยตรงกับผู้นำท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม อีกทั้ง พัฒนาด้านสุขภาพและสุขภาวะ ดูแลให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในวิกฤตการณ์ต่างๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมถึงแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและสนับสนุนเครื่องมือด้านการพัฒนาที่เข้าถึงและสร้างความเท่าเทียมให้ชุมชนสามารถจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้อย่างเท่าทัน เพื่ออนาคตที่เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน 

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.fhi360.org