คุณอยู่ที่นี่

ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาความคืบหน้าของไทยต่อข้อผูกพันด้านประชากรและการพัฒนาภายใต้กรอบการประชุมระหว่างประเทศเรื่องประชากรและการพัฒนาหรือ ICPD นั้นโดดเด่น สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมีพระราชดำริให้รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นในระดับประเทศเพื่อเร่งการทำงานภายใต้แผนปฏิบัติการของการประชุมฯ ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เพื่อสร้างสิทธิและทางเลือกให้เป็นจริงสำหรับประชากรทุกคน

ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจว่ามีการวางกลไกการประสานงานระดับชาติที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อประสานงานการดำเนินการตามวาระ ICPD ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งนี้ ภายใต้กลยุทธ์ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทยจะยังคงให้บริการคุมกำเนิดที่ทันสมัย บริการที่มีคุณภาพ เข้าถึงได้ง่ายและปลอดภัย พร้อมกับข้อมูลและบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ เราให้ความมั่นใจว่าจะพยายามบรรลุเป้าหมายระดับชาติในการลดอัตราการตายของมารดาให้เหลือ 15 คนต่อการเกิดมีชีพ 100,000 รายภายในพ.ศ. 2573 โดยการให้บริการที่จำเป็นด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่อยู่ภายใต้ระบบการให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

นอกจากนี้ ประเทศไทยจะเพิ่มความพยายามในการบรรลุเป้าหมายให้อัตราการคลอดของวัยรุ่นหญิงอยู่ที่ 25 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพต่อวัยรุ่น 1,000 คนที่มีอายุระหว่าง 15-19 ภายในพ.ศ. 2569 บนพื้นฐานของพ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และนโยบายอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ทั้งนี้ การดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะสร้างความมั่นใจว่าผู้หญิงและเด็กผู้หญิงสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการที่มีคุณภาพและครอบคลุมในการป้องกันความรุนแรงบนฐานเพศ และประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะลดการแต่งงานก่อนวัยในกลุ่มประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีโดยการสร้างพลังอำนาจให้นักเรียนหญิงที่จะได้รับกการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ไทยส่งเสริมและจะกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สำเร็จในการวางแผนครอบครัว การกำจัดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี / ซิฟิลิสจากแม่สู่ลูก และสุขภาพมารดาภายใต้การให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและความร่วมมือแบบใต้ - ใต้

เพื่อให้บรรลุตามแผนปฏิบัติการของการประชุมระหว่างประเทศเรื่องประชากรและการพัฒนา (ICPD) ได้อย่างเต็มที่ ประเทศไทยรับประกันในการจัดสรรงบประมาณระดับประเทศอย่างเพียงพอ (ประกาศค.ร.ม.)เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง

 

แนวทางของประเทศไทยในการมีส่วนร่วมด้านประชากรและการพัฒนา:

  • ด้านงบประมาณและการเงิน: ในแง่ของการจัดหางบเพื่อให้บรรลุแผนปฏิบัติการฯ อย่างเต็มที่ ประเทศไทยรับประกันในการจัดสรรงบประมาณระดับประเทศอย่างเพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง
  • ด้านการเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดกรอบทางกฎหมาย: จัดหาข้อมูลที่มีคุณภาพ ทันเวลา และเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ตัวบุคคล (disaggregated data)  ที่ครอบคลุมกลุ่มวัยรุ่นและประชากรที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง รวมทั้งการลงทุนในนวัตกรรมด้านสุขภาพผ่านระบบดิจิทัล และปรับปรุงระบบข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าการพัฒนาประชากรจะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง
  • ด้านนโยบายและทิศทาง: ประเทศไทยจะเพิ่มความพยายามในการบรรลุเป้าหมายให้อัตราการคลอดของวัยรุ่นหญิงอยู่ที่ 25 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพต่อวัยรุ่น 1,000 คนที่มีอายุระหว่าง 15-19 ภายในพ.ศ. 2569 บนพื้นฐานของพ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และนโยบายอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ
  • ด้านแผนปฏิบัติการ: ไทยจะยังคงให้บริการคุมกำเนิดที่ทันสมัย มีคุณภาพ เข้าถึงได้ง่าย และปลอดภัยพร้อมกับการให้ข้อมูลและบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ที่ประชากรทุกคนเข้าถึงได้

อ่านถ้อยแถลงของไทยเรื่องข้อผูกพันด้านประชากรและการพัฒนาภายใต้กรอบการประชุมระหว่างประเทศเรื่องประชากรและการพัฒนาหรือ ICPD โดย นพ.สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุขได้ ที่นี่