คุณอยู่ที่นี่

 

วันที่ 23 มกราคม 2567 กรุงเทพฯ ประเทศไทย – กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ประจำประเทศไทย ร่วมกับองค์การแฟมิลี่ เฮลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (FHI 360), ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB), Health Care without Harm Southeast Asia (HCWH-SEA),  St. Luke's Medical Center College of Medicine และ Health Systems Global (HSG)  ร่วมจัดเสวนาประเด็น ความเสมอภาคด้านสุขภาพท่ามกลางวิกฤตหลากหลายมิติ การปรับระบบและสถานพยาบาลภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ( Health Equity Amidst Polycrises: Climate-Smart Healthcare in Asia-Pacific) การเสวนานี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมของการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2567 ซึ่งผู้เข้าร่วมการเสวนานี้ประกอบด้วยผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ นักวิจัย และตัวแทนจากภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ และภาคเอกชนล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะมานำเสนอแนวการเสนอแนวทางแก้ไขที่มีข้อมูลเชิงประจักษ์รองรับเพื่อจัดการกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตทางภูมิศาสตร์การเมืองเฉพาะตัว มีความเหลื่อมล้ำที่ส่งผลมาจากอดีต และระบบสุขภาพที่มีความหลากหลาย


สิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA ประจำประเทศไทย

Thu-Ba Huynh, PhD. ที่ปรึกษาอาวุโสด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์การแฟมิลี่ เฮลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (FHI 360) กล่าวว่า "การรับรู้และกำหนดนิยามให้กับภาวะวิกฤตที่ซับซ้อนเป็นการปูทางสู่ความเข้าใจแบบองค์รวม     ต่อความท้าทายนี้ นับเป็นยุทธศาสตร์ที่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและช่วยส่งเสริมให้ระบบการดูแลสุขภาพและ สถานพยาบาลปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้

 

สิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA ประจำประเทศไทย เน้นย้ำถึงความจำเป็นสำหรับความร่วมมือกันในการจัดการกับสถานการณ์อันเป็นทางแยกระ     หว่างความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า “UNFPA ไม่เพียงแต่ทำงานเพื่อปกป้องกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กผู้หญิง เท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นเพื่อมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจสำหรับนโยบายที่เกี่ยว     ข้องกับสภาพภูมิอากาศให้ครอบคลุมและทั่วถึงทุกกลุ่มมากขึ้น

 

Ramon San Pascual, MPH, ผู้อำนวยการบริหาร Health Care without Harm Southeast Asia ย้ำถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดและแนวทางปฏิบัติด้านระบบการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาลอย่างยั่งยืนว่า "เราต้องการนวัตกรรมและความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในภาคส่วนด้านสุขภาพ"

 

Dr. Eduardo P. Banzon หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สำนักงานการพัฒนามนุษย์และสังคม ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการข้อท้าทายทางการเงิน เขาย้ำว่า ความท้าทายทางการเงินไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสวนาครั้งนี้ทำให้มีการสำรวจว่าสถาบันในลักษณะเดียวกับธนาคารพัฒนาเอเชียมียุทธ     ศาสตร์การลงทุนและการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ อย่างไรบ้างที่จะสนับสนุนการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงและต่อสู้กับความท้าทายที่มากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

Renzo R. Guinto, MD DrPH ผู้อำนวยการ Planetary and Global Health Program, St. Luke's Medical Center College of Medicine และประธาน Thematic Working on Climate-Resilient and Sustainable Health Systems และHealth Systems Global (HSG)  กล่าวย้ำถึงความรับผิดชอบที่มากขึ้นของสถาบันการศึกษาและวิจัยว่า ยุคแห่งวิกฤตทับซ้อนหลายมิตินี้ผนวกกับภัยคุกคามที่มีอยู่แล้วของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือแบบสหวิทยาการมากขึ้น พวกเราที่ทำงานด้านนโยบายและระบบการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาล ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ นโยบายสภาพภูมิอากาศ และอื่นๆ ด้วย” นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของนักวิชาการในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการสร้าง ฐานข้อมูลความรู้และเสนอวิธีใหม่ๆเพื่อสร้างระบบการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาลที่สามารถปรับเปลี่ยนอย่างเท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ

 

ความพยายามร่วมกันในการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2567 ย้ำถึงความสำคัญและความมุ่งมั่นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายสาขาวิชาในการแก้ไข ปัญหาที่ซับซ้อนร่วมกันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสาธารณสุขในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกซึ่งจะปูทางไปสู่ผลลัพธ์ด้านสุขภาพและสภาพภูมิอากาศที่มีความพร้อมรับมือและยั่งยืนมากขึ้น

 


 

ชมข่าว: ที่นี่ 

 

 

อ่านข่าวเพิ่มเติมที่:

 

หากสื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

  • กุลวดี สุมาลย์นพCommunication Specialist, UNFPA Thailand, อีเมล์: sumalnop@unfpa.org
  • Allison Bozniak, ผู้ช่วยผู้อำนวยการการสร้างการมีส่วนร่วมสาธารณะ องค์การแฟมิลี่ เฮลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (FHI 360) อีเมล์: abozniak@fhi360.org

 

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

เกี่ยวกับ UNFPA

UNFPA เป็นหน่วยงานด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของสหประชาชาติ ภายใต้ทีมงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ความร่วมมือของ UNFPA ในประเทศไทยสอดคล้องกับกรอบความร่วมมือการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UNSDCF) พ.ศ.2565-2569 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ของประเทศไทย (พ.ศ.2566-2570) รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยการกำจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ และการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา (ICPD)

 

UNFPA มุ่งดำเนินงานโดย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ประกอบด้วยหลัก 3 ประการ ดังนี้

  1. พื้นที่การปฏิบัติงานเพื่อดำเนินนโยบายและครอบคลุมสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนให้ได้รับความรู้และทักษะด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศ รวมถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์โดยมุ่งเน้นวางแผนครอบครัวอย่างมีส่วนร่วมและติดตามพ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559      
  2. ผลักดันนโยบายที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันและยุติความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย
  3. เพิ่มความเข้มแข็งนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้ข้อมูลและผลวิจัยเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของประชากรและกระแสหลักของโลกเข้าด้วยกัน รวมถึงอายุของประชากรและความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อพัฒนาและติดตามนโยบายและแผนงานด้านประชากรอย่างยั่งยืน

 

อ่านแผนงานระดับประเทศฉบับเต็มได้ ที่นี่ หรือเอกสารแนะนำ UNFPA ประจำประเทศไทย ที่นี่

เกี่ยวกับ FHI360

องค์การแฟมิลี่ เฮลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (FHI 360) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลกที่มุ่งเน้นการวิจัย  ระดมทรัพยากรต่างๆ และความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสการมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยดำเนินการด้านความร่วมมือในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และทำงานโดยตรงกับผู้นำท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม อีกทั้ง พัฒนาด้านสุขภาพและสุขภาวะ ดูแลให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในวิกฤตการณ์ต่างๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนรวมถึงแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและสนับสนุนเครื่องมือด้านการพัฒนาที่เข้าถึงและสร้างความเท่าเทียมให้ชุมชนสามารถจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้อย่างเท่าทัน เพื่ออนาคตที่เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน 

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.fhi360.org 

 

เกี่ยวกับ Health Care Without Harm Southeast Asia (HCWH-SEA)

Health Care Without Harm Southeast Asia (HCWH-SEA) เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับโลกที่เข้มแข็งซึ่งอุทิศเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพทั่วโลกโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้มีความยั่งยืนทางระบบนิเวศและเป็นผู้สนับสนุนชั้นนำด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมและความเท่าเทียม HCWH-SEA มุ่งหวังที่จะสนับสนุนสิทธิของประชาชนต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่ดีโดยท้ายที่สุดจะนำมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภาคส่วนการดูแลสุขภาพในภูมิภาคไปสู่การฟื้นตัวจากสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยคาร์บอน และความยั่งยืน HCWH-SEA ทำงานร่วมกับพันธมิตรกว่าสองทศวรรษแล้ว เพื่อปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการส่งเสริมการลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ (healthcare's ecological footprint) ในการดูแลสุขภาพ สนับสนุนการกำจัดสารเคมีทางการแพทย์และสนับสนุนการนำแหล่งพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในภาคส่วนนี้

 

เกี่ยวกับ The Planetary and Global Health Program of the St. Luke’s Medical Center College of Medicine

ปี 2020 ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19  วิทยาลัยการแพทย์เซนต์ลุค หรือ St. Luke's Medical Center-William H. Quasha Memorial (SLMCCM-WHQM) หนึ่งในสถาบันแพทย์ชั้นนำของฟิลิปปินส์ได้ก่อตั้งโครงการ Planetary and Global Health Program (PGHP) – เป็นองค์กรแรกที่อุทิศให้กับสาขาสุขภาพโลกในฟิลิปปินส์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นหนึ่งในองค์กรแรกๆ ในโลกใต้ด้วยการใช้ศักยภาพที่ดำเนินงานของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 25 ปี และศูนย์การแพทย์เซนต์ลุค 120 ปี ตามลำดับ ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบโรงพยาบาลชั้นนำในประเทศ โดย PGHP มีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางชั้นนำของสุขภาพระดับโลก โดยครอบคลุมถึงการศึกษา การวิจัย และการแปลในประเทศฟิลิปปินส์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทศวรรษหน้า

 

ในช่วงสามปีที่ผ่านมา PGHP ได้นำเสนอโอกาสทางการศึกษาเชิงนวัตกรรม เช่น วิชาเลือกด้านสุขภาพโลกสำหรับนักศึกษาแพทย์และหลักสูตรประกาศนียบัตรด้านการดูแลสุข ภาพและสถานพยาบาลที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การดำเนินโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภายนอกในประเด็นด้านสุขภาพของโลกที่ หลากหลายตั้งแต่ระบบสุขภาพที่สามารถรับมือต่อสภาพภูมิอากาศและความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในกลุ่มคนรุ่นใหม่ไปจนถึงการดูแลสุขภาพโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและการอนุรักษ์สัตว์ป่าเพื่อป้องกันการระบาดใหญ่อีกทั้งยังมีสร้างการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายกับสถาบันของรัฐในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ รวมถึงคณะกรรมาธิการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของฟิลิปปินส์ กระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลกเพื่อโน้มน้าวให้มีการดำเนินนโยบายและโครงการที่จัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพโลก PGHP ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของ Planetary Health Philippines ซึ่งเป็นศูนย์รวมระดับชาติของนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน ผู้สนับสนุน และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาด้านสุขภาพในประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นสมาชิกของเครือข่ายระดับชาติและนานาชาติหลายแห่ง รวมถึง Planetary Health Alliance และ Global Consortium on Climate and Health Education ในปี 2023  ซึ่ง PGHP ได้รับรางวัล CUGH-Velji Planetary Health Innovation Award โดย Consortium of Universities of Global Health ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

 

ดูเพิ่มเติมที่: https://slmc-cm.edu.ph/academics/global-health/ หรือติดต่อ globalhealth@slmc-cm.edu.ph

เกี่ยวกับ Health Global System และ Thematic Working on Climate-Resilient and Sustainable Health Systems

Health Global System (HSG) เป็นสมาคมสมาชิกระดับนานาชาติที่อุทิศตนเพื่อส่งเสริมนโยบายด้านสุขภาพและการวิจัยระบบ (HPSR)เพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาลและความเป็น อยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยรวบรวมสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มกับ HPSR และHSG  โดยมีการประชุมสัมมนาระดับโลกด้านการวิจัยระบบการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาลทุกๆ สองปี ซึ่งการประชุมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2567 ภายใต้หัวข้อ การสร้างความยุติธรรม” และระบบการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาลที่ยั่งยืน: การมีผู้คนเป็นศูนย์กลางและการปกป้องโลก

 

Working on Climate-Resilient and Sustainable Health Systems เป็นคณะทำงานเฉพาะที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาล การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและการปฏิบัติการที่มุ่งเน้นกับนโยบาย ประเด็นผลักดันสำคัญได้แก่การพัฒนาการวิจัยระดับโลกและวาระการเสริมสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับความเข้มแข็งของระบบการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาลและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้ง มอบโอกาสสำหรับสมาชิก HSG และผู้เข้าร่วมภายนอกสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และการสนับสนุนแบบPeer-to-Peer และมีส่วนร่วมกับนโยบายด้านสุขภาพ การวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนความเป็นผู้นำของภาคสุขภาพสำหรับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศภายในและภายนอกระบบการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาลในระดับโลก ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น

 

ดูเพิ่มที่: https://healthsystemsglobal.org/thematic-groups/climate-resilient-and-su...

เกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชีย

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADBเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2509 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และสำนักงานภาคสนาม 31 แห่งทั่วโลกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในเอเชีย ธนาคารพัฒนาเอเชียเริ่มก่อตั้งด้วยจำนวนประเทศสมาชิก 31 ประเทศ  ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 68 ประเทศ

 

ธนาคารพัฒนาเอเชียมุ่งมั่นนำพาเอเชียแปซิฟิกสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมกับการขจัดความยากจนขั้นรุนแรงให้หมดไปจากเอเชียแปซิฟิก

 

ธนาคารพัฒนาเอเชียสนับสนุนประเทศสมาชิกโดยการให้สินเชื่อ การช่วยเหลือทางเทคนิค การให้เงินช่วยเหลือ และการลงทุนในตราสารทุนเพื่อส่งเสริมสังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 (COP 28)  ทางธนาคารพัฒนาเอเชียได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรับมือภัยพิบัติ และการพัฒนาคาร์บอนต่ำ ซึ่งรับมือต่อภัยคุกคามที่เอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญ ธนาคารพัฒนาเอเชียจึงกำหนดให้มีการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความพร้อมรับมือภัยพิบัติ และการเสริมสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ของธนาคารพัฒนาเอเชียปี 2030 ทั้งนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชียกำหนดให้ 75% ของแผนปฏิบัติการณ์ทั้งหมดมุ่งเน้นที่การสนับสนุนการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายในปี 2030

 

กรอบการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของธนาคารพัฒนาเอเชียในปี 20172030 สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระดับภูมิภาคในเรื่องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ พร้อมกับมีการเตรียมแนวทางแก่ทุกภาคส่วนของ ธนาคารพัฒนาเอเชียและคณะทำงานเฉพาะกิจ ในการสร้างความเข้มแข็งในการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ตามคำมั่นสัญญาของ ธนาคารพัฒนาเอเชียเพื่อเพิ่มการจัดหาเงินทุนเพื่อการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีนัยสำคัญ