ปีนี้องค์การสหประชาชาติเน้นย้ำถึงความสำคัญของวันสตรีสากลภายใต้หัวข้อ DigitALL: Innovation and technology for gender equality หรือ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สร้างความเท่าเทียมทางเพศ ปัจจุบัน วิถีชีวิตของผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเรียน ทำงาน การโทรติดต่อกับครอบครัวหรือคนรัก การทำธุรกรรมทางการเงิน หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุข
จากรายงานระบุว่า ประชากรสตรีคิดเป็นเกือบครึ่งนึงของประชากรโลก มีสตรีถึง 37% ไม่สามารถเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ต และเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้น้อยกว่าผู้ชายถึง 259 ล้านคน
การเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ตนั้นทำให้ผู้หญิงรู้สึกไม่ปลอดภัยและมั่นใจในการพัฒนาทักษะดิจิทัลที่จำเป็น เพื่อการมีส่วนร่วมในพื้นที่สาธารณะออนไลน์ได้ ถือเป็นการลดโอกาสในการประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering, and Mathematics or STEM) จากการคาดการณ์ แน้วโน้มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ STEM จะสูงถึง 75% ภายใน พ.ศ.2593 แต่ทุกวันนี้มีผู้หญิงที่ประกอบอาชีพในแวดวงนี้มีอยู่เพียง 22% เท่านั้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มลดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการสะสมพื้นฐานการสร้างทุนมนุษย์ของชีวิต เช่น ทักษะการบริหารสุขภาวะอนามัยทางการเจริญพันธุ์
การสร้างโอกาสและพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้าถึงเทคโนโลยีนั้น สามารถทำให้เกิดวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ และเพิ่มศักยภาพในด้านแนวคิดเชิงนวัตกรรม ที่จะตอบสนองความต้องการสำคัญหลักๆ ของผู้หญิง และส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งถ้าผู้หญิงเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ จะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย และนำไปสู่การใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลสำหรับแก้ไขปัญหา
UNFPA เองก็พยายามลดช่องว่างและข้อจำกัดทางเพศในการเข้าถึงระบบดิจิทัลต่างๆ ดังกล่าวเพื่อสร้างความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม และเน้นย้ำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิของสตรีและเด็กผู้หญิงในพื้นที่ดิจิทัล โดยหาทางจัดการกับความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศบนออนไลน์ หรือ ICT-facilitated gender-based violence (TF GBV) ที่เพิ่มมากขึ้น
เมื่อปลาย พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา UNFPA ได้ออกแนวทางปฏิบัติ “ Making All Space Safe ” เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนสามารถนำไปอ้างอิงปรับใช้ในการรับมือและจัดการกับปัญหาเหล่านี้
สำหรับประเทศไทย UNFPA กำลังพัฒนา Life-Cycle Digital Platforms หรือแพลตฟอร์มการพัฒนาทุกช่วงวัย เพื่อสร้างพื้นที่ดิจิทัลให้สตรี เด็กผู้หญิง และกลุ่มเปราะบางทั่วประเทศ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อรับบริการและคำปรึกษาด้านสุขภาพทางเพศ การคุมกำเนิด และการขอความช่วยเหลือหากเกิดถูกคุกคาม ล่วงละเมิด หรือถูกกระทำความรุนแรง โดย UNFPA ประเทศไทยจะทำงานร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ระดับจังหวัด (พมจ.) ในจังหวัดนำร่อง และศูนย์บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง (One Stop Crisis Center – OSCC) หรือศูนย์พึ่งได้ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำนวัตกรรม Life-cycle Digital Platforms ไปปรับใช้กับการให้บริการช่วยเหลือกับกลุ่มเป้าหมาย
UNFPA ประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน รวมทั้งจากสื่อมวลชนในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมนวัตกรรมนี้ เพื่อสนันสนุนคุณภาพชีวิตสตรี เด็กผู้หญิง และกลุ่มเปราะบาง เพื่อสร้างความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยร่วมกัน
คุณคริสติน่า อากีล่าร์, Champion of UNFPA Thailand
ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในวันสตรีสากล 2023