Go Back Go Back
Go Back Go Back

25 ปีหลัง ICPD การพัฒนาประชากรเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย

25 ปีหลัง ICPD การพัฒนาประชากรเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย
25 ปีหลัง ICPD การพัฒนาประชากรเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Publisher

UNFPA

Number of pages

142

Author

UNFPA Thailand

Publication

25 ปีหลัง ICPD การพัฒนาประชากรเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Publication date

16 September 2019

Download Icon

นับตั้งแต่การประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่องประชากรและการพัฒนา (International Conference on Population and Development :  ICPD) เมื่อ 25 ปีก่อน ประเทศไทยได้ผ่านประสบการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางประชากรมาอย่างโดดเด่น  อายุคาดเฉลี่ย (life expectancy) เพิ่มสูงขึ้น ภาวะเจริญพันธุ์ลดลงต่ำกว่าระดับการทดแทนประชากร (replacement level) โดยมีจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง  ด้วยเหตุนี้ สัดส่วนประชากรวัยทำงานจึงเพิ่มสูง  อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันทั้งสัดส่วนและจำนวนคนวัยทำงานกลับเริ่มลดลงอีก ขณะที่ประชากรเริ่มก้าวสู่ภาวะสูงอายุอย่างรวดเร็ว  ความเปลี่ยนแปลงทางประชากรดังกล่าวนำมาซึ่งทั้งความท้าทายและโอกาสต่อประเทศไทย

ความสำเร็จของประเทศไทยเป็นที่น่าจดจำเสมอมา   ระบบสาธารณสุขไทยแข็งแกร่ง  การริเริ่มหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งเป็นที่ชื่นชมของหลายประเทศที่มุ่งพัฒนาระบบสาธารณสุขของตน ได้ช่วยลดความยากจนอันเกิดจากภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพได้อย่างชัดเจน  ความก้าวหน้าในการดูแลความปลอดภัยของการตั้งครรภ์ได้นำไปสู่อัตราการเสียชีวิตของแม่ที่ต่ำมาก  การให้บริการวางแผนครอบครัวที่ทรงประสิทธิผลสามารถลดความต้องการอันไม่ได้รับการตอบสนองแต่เดิมลงมาเหลือเพียงระดับต่ำ  และการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกก็ถูกขจัดยับยั้งได้  ในด้านการศึกษา การศึกษาระดับมัธยมเป็นที่เข้าถึงสำหรับเด็กส่วนใหญ่รวมถึงเด็กในพื้นที่ห่างไกล และจำนวนแรงงานไทยที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีก็ทวีขึ้นเป็นสองเท่าในแต่ละทศวรรษ

ความก้าวหน้าดังที่ได้กล่าวมาสมควรแก่การเฉลิมฉลอง ทว่า ความท้าทายที่ประเทศไทยยังคงประสบอยู่ก็ยังมีมากมหาศาลเช่นกัน  กุญแจที่จะเบิกทางสู่การเป็นประเทศพัฒนาที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนภายในปีพ.ศ. 2580 ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ก็คือการลงทุนในการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาและสุขภาพ  ท่ามกลางการหดตัวของกำลังแรงงาน ผลิตภาพ (productivity) ของแรงงานก็จำต้องเพิ่มสูงขึ้น  การเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ต้องการกำลังแรงงานที่มีทักษะมากกว่าเดิม  และแม้ที่ผ่านมาจะมีความก้าวหน้าในด้านการศึกษาอย่างโดดเด่น คุณภาพและความสอดคล้องระหว่างการศึกษากับการจ้างงานก็ยังต้องการการปรับปรุงแก้ไข

การทำให้มั่นใจว่าคนรุ่นใหม่จะสามารถใช้ศักยภาพที่มีให้เป็นประโยชน์มากที่สุด คือความสำคัญสุดยอดสำหรับการพัฒนาประเทศไทยในอนาคตโดยเฉพาะประชากรไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว  กระบวนการดังกล่าวจะยังคงเดินหน้าต่ออย่างเต็มที่ไม่ถดถอยในช่วงทศวรรษต่อไปที่จะมาถึง  ดังนั้น ปัญหาที่เยาวชนคนหนุ่มสาวประสบอยู่จึงจะต้องได้รับการตอบสนอง ปัญหาเหล่านี้ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำในโอกาสด้านการศึกษาและโอกาสอื่น ๆ อันเนื่องจากภูมิหลังทางเศรษฐกิจสังคม การอยู่ครองคู่กันแต่วัยเยาว์เป็นสัดส่วนที่สูงโดยเฉพาะในประชากรกลุ่มด้อยโอกาส และความต้องการเข้าถึงบริการอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนที่ไม่ได้แต่งงาน เป็นต้น  นอกจากนี้ ลูกหลานของแรงงานข้ามชาติจำก็ต้องสามารถเข้าถึงโอกาสการศึกษาและอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ ความเสมอภาคทางเพศเป็นแง่มุมแห่งการพัฒนาที่สำคัญประการหนึ่ง  ประเทศไทยสามารถจัดการโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กหญิงและผู้หญิงได้ด้วยดี   

ติดตามอ่านข้อสรุปเชิงนโยบายได้ ที่นี่ และอ่านรายงานฉบับเต็มได้ ทีนี่

Share this page with this QR Code: