คุณอยู่ที่นี่

จดหมายเชิญสื่อ

UNFPA จับมือภาคีสนับสนุนเยาวชนที่มีความพิการ

ส่งเสริมศักยภาพและสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2561

09.30 น. – 11.30 น.

ห้องรัตนโกสินทร์ ชั้น 1 โรงแรมสุโกศล

09.30 น.                   ลงทะเบียน

10.00 - 10.05 น.         พิธีกรกล่าวต้อนรับ

10.05 - 10.15 น.         กล่าวเปิดงาน โดย คุณมาเซล่า ซูอาโซ     ผู้อำนวยการกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และ ผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศมาเลเซีย

10.15 - 10.20 น.         ลงนามความร่วมมือ “ภาคีสนับสนุนศักยภาพและส่งเสริมสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของเยาวชนที่มีความพิการ”

โดย UNFPA มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยมหิดล

10.20 - 10.25 น.         ภาพหมู่

10.30 - 11.30 น.         เสวนาเรื่อง “ศักยภาพของเยาวชนและสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของเยาวชนที่มีความพิการ”

  • ข้อท้าทายทั่วไปและเรื่องสุขภาวะทางเพศของการเป็นเยาวชนที่มีความพิการ โดย เยาวชนที่มีความพิการด้านสมอง และ เยาวชนที่มีความพิการด้านร่างกาย
  • ข้อจำกัดและทางเลือกเรื่องสุขภาวะทางเพศของเยาวชนที่มีความพิการ โดย
  • คุณมณเฑียร บุญตัน

ประธาน มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

  • ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล

นายก สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย

  • ตัวแทน จาก มหาวิทยาลัยมหิดล

สื่อ ยืนยันเข้าร่วมงานได้ที่ กุลวดี สุมาล์ยนพ 08 1917 5602 sumalnop@unfpa.org

 

ข้อมูลพื้นฐาน

 

กลุ่มวัยรุ่นที่อยู่ในภาวะเปราะบาง (vulnerable adolescent) เผชิญกับความเสี่ยงในด้านต่างๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ด้อยโอกาส (disadvantaged) ถูกแปลกแยกออกจากกระแสหลักทางสังคม-เศรษฐกิจ ทางการเข้าถึงข้อมูลและการบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ และโอกาสในด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ของ UNFPA ปีพ.ศ. 2561 – 2564 ได้ระบุว่า กลุ่มคนด้อยโอกาสรวมถึงบุคคลที่มีความความพิการด้วย ดังนั้น คนหนุ่มสาวที่มีความพิการจัดว่ามึความเสี่ยงในด้านต่างๆ รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี / เอดส์ ความรุนแรงจากเพศสภาพ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

 

ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 มาตรา 5 วัยรุ่นมีสิทธิสำคัญอยู่ 6 ด้าน 1) สิทธิในการตัดสินใจโดยตนเอง 2)สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้ 3) สิทธิในการได้รับบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ 4) สิทธิในการรักษาความลับ ความเป็นส่วนตัว 5) สิทธิในสวัสดิการสังคม 6) สิทธิในการได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

 

ดังนั้น ทาง UNFPA และองค์กรภาคีซึ่งได้แก่ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยมหิดล เห็นพ้องกันว่าเยาวชนทุกคนรวมถึงเยาวชนที่มีความพิการต้องได้รับการส่งเสริมศักยภาพและสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ จึงตกลงร่วมมือกันเพื่อศึกษาและทบทวนสถานการณ์ ปัจจัยที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เยาวชนที่มีความพิการต้องเผชิญ รวมทั้งศึกษถึงสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เยาวชนที่มีความพิการได้ใช้สิทธิและเครื่องมือ กลไกที่ช่วยให้พวกเขาเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องและบริการที่มีอยู่ และจะนำผลการศึกษาที่ได้เสนอต่อผู้กำหนดนโยบายโดยเฉพาะเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ การละเมิดสิทธิด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่มีความบกพร่อง

 

*************************************

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กุลวดี สุมาล์ยนพ 08 1917 5602 sumalnop@unfpa.org

FB: UNFPAThailand

Twitter: UNFPA_Thailand

 

DOCUMENTS

  • จดหมายเชิญสื่อ “ภาคีสนับสนุนศักยภาพและส่งเสริมสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของเยาวชนที่มีความพิการ”