คุณอยู่ที่นี่

ดร. โอซา ทอคิลส์สัน

ดร. โอซา ทอคิลส์สัน

ดร. โอซา ทอคิลส์สันร่วมงานกับ UNFPA ในฐานะ ผู้แทน UNFPA ประจำประเทศมาเลเซียและผู้อำนวยการ UNFPA ประจำประเทศไทย ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยก่อนหน้านี้ ณ เดือนมกราคม 2551 ดร. โอซาได้ดำรงตำแหน่งผู้แทน unfpa ประจำบังกลาเทศซึ่งเป็นสำนักงานที่มีการดำเนินงานที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของ UNFPA และมีการดำเนินงานที่สร้างการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ผ่านการดำเนินงานการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย การช่วยผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยวิกฤตโควิด 

 

ในระหว่างการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ทีมงานสามารถระดมความช่วยเหลือได้มากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ในการทำงานปัจจุบันและในอนาคต สร้างสายสัมพันธกับผู้สนับสนุนใหม่ๆ และได้บุกเบิกการสร้างภาคีทางยุทธศาสตร์ ซึ่งได้แก่ธนาคารโลก และยังได้ควบรวมงานด้านประชากรและการพัฒนา (ICPD) เข้าเป็นหนึ่งกับกรอบความร่วมมือใหม่อีกด้วย นอกจากนี้ ดรใ โอซา ยังนำการรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงมาใช้ในการทำงานกับภาครัฐ ทีมสหประชาชาติ กรอบความร่วมมือเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNSDCF) แผนความร่วมมือแผนที่ 10 (CPD) การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและจากวิกฤติโควิด การมุ่งบรรลุเป้าหมายด้านประชากรและการพัฒนา และการสร้างสังคมที่ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้รับการริเริ่มและขยายวงให้กว้างขึ้น

 

เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างผลลัพภ์แบบก้าวกระโดด ดร.โอซาได้สร้างทีมที่มีการผลการดำเนินงานในระดับสูง เน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ สร้างการเจรจาต่อรองด้วยกลไกทีม เน้นการเสริมสร้างทักษะการรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทักษะการสื่อสาร มีการนำร่องการสร้างสร้างพื้นที่การทำงานที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ดูแลและร่วมมือสอดประสานกันโดยในทีมที่มีความเป็นท้องถิ่นที่หลากหลายสูง และยังได้ริเริ่มการให้คำปรึกษาสร้างผู้นำรุ่นใหม่ด้วย และเพื่อสร้างการสอดประสานและความเห็นร่วมกันในประเด็นที่มีความสำคัญ ดร.โอซาริเริ่มให้มีการสร้างกลุ่มพันธมิตรเจ้าหน้าที่บริหารโครงการระดับสูง เพื่อสร้างและดำเนินกลยุทธ์ต่างๆ รวมทั้งริเริ่มความคิดใหม่ๆ บริหารความเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแบบก้าวกระโดดเพื่อประโยชน์ของประชากรกลุ่มชายขอบ

 

ดร.โอซา ผ่านการทำงานในประเทศต่างๆ มามากกว่า 20 ปี ซึ่งเป็นการทำงานที่ใช้ความอุตสาหะที่สลับซับซ้อน โดยมีประสบการณ์การทำงานกับสำนักงานระดับภูมิภาค ระดับสำนักงานใหญ่หน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติ ซึ่งได้แก่ FAO, IFAD, UN Women และ World Bank รวมทั้งยังเคยทำงานในสถาบันการศึกษา สถานบันของรัฐ ภาคประชาสังคมหรือ NGO ภาคเอกชน โดยในงานทั้งหมดมุ่งเน้นให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเพศ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งขยายพื้นที่และที่ยืนให้กับผู้หญิง 

 

ก่อนมาร่วมงานกับ UNFPA ดร.โอซาได้ทำงานกับ UN Woman ในตำแหน่งต่างๆ ในระหว่างปี 2556-2560 ในฐานะที่คำปรึกษาด้านการส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอัพริกาตะวันออกและใต้ โดยประจำอยู่ที่กรุงไนโรบี เคยดูแลงานระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกโดยประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ มีประสบการณ์ในการทำงานในการได้รับมอบหมายให้เป็นรองผู้แทนสำนักงานประเทศอินเดีย ราชอาณาจักรภูฏาน มัลดีฟส์ และ ศรีลังกา โดยประจำอยู่ที่กรุงเดลี นอกจากนี้ยังได้ร่วมงานกับภาครัฐบาลในระดับภูมิภาคโดย ทำงานด้านงานวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันโดยเน้นเรื่องมิติด้านเพศและด้านเกษตรกรรม การศึกษาเรื่องเพศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการย้ายถิ่น ที่นำไปสู่การสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อแผนปฏิบัติการ และการยกระดับการลงทุนและการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่มุ่งไปสู่ความเท่าเทียมกันทางเพศ นอกจากนี้ ดร.โอซายังช่วยงานด้านการพัฒนาโครงสร้างองค์กรและสร้างศักยภาพให้กับทีมสหประชาชาติในหลายประเทศและให้สำนักงานระดับภูมิภาคและระดับประเทศอีกหลายแห่งอีกด้วย

 

ในระหว่างปี 2551-2554 ดร. โอซาได้ก่อตั้ง ระดมทุน และนำการดำเนินงานโครงการมิติทางเพศในเคนยาที่ทางธนาคารโลกให้การสนับสนุน โดยได้ควบรวมมิติทางเพศเข้าไปในงานด้านการพัฒนา และได้นำทีมวิจัย สร้างศักยภาพให้กับภาคีภาครัฐจนนำไปสู่นวัตกรรมในการให้บริการของรัฐ การแลกเปลี่ยนความรู้แบบใต้-ใต้ในเรื่องงานพัฒนาที่มีมิติเกี่ยวกับเรื่องเพศและการจัดการด้านน้ำและสุขาภิบาลนอกจากนี้ ดร.โอซายังริเริ่มความร่วมมือแบบใหม่ระหว่างภาคประชาสังคม ธนาคารโลกและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสตรีอีกด้วย

 

ดร.โอซาเริ่มงานกับองค์การสหประชาชาติในตำแหน่ง Junior Professional officer กับ FAO ณ ปี 2541 ภายใต้โครงการระดับภูมิภาคที่ประจำอยู่ที่กรุงฮาราเร จากนั้นได้ทำงานให้กับสำนักงานใหญ่ของ FAO IFAD ณ กรุงโรมโดยช่วยพัฒนาแผนปฏิบัติการขององค์กรที่เน้นมิติด้านเพศ ให้คำปรึกษาการลงทุนและนโยบายที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องเพศให้กับภาคส่วนต่างๆ งานแรกของดร.โอซาคือการเป็นอาสาสมัครในการจัดตั้งการแลกเปลี่ยนอาสาสมัครชาวยุโรปให้กับโครงการต่างๆ รวมทั้งเป็นผู้ช่วยนักวิจัยให้กับ Centro Studi di Politica Internazionale เป็นนักวิจัยด้านนโยบายการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของสหภาพยุโรป และยังเป็นติวเตอร์พิเศษให้กับนักศึกษาปริญญาโทที่ STOA/Naples University ที่กรุงโรมด้วย

 

ในฐานะที่เป็นนักเรียนด้านการสร้างผู้นำมาตลอดช่วงชีวิต ดร.โอซาได้เรียนรู้ทักษะการเป็นผู้นำจากการ อบรมกับสถาบันต่างๆ ได้แก่ จาก World Bank UNDPA และ UNFPA ได้เรียนรู้ทักษะการเจรจาต่อรองจาก Harvard Kennedy School การบริหารการเงินจาก INSEAD การเป็นโค้ช และเป็นผู้นำในการทำงานภายใต้วิกฤตจาก UN Staff College การเรียนรู้ในการรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการให้คำปรึกษาจากสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ โดยได้นำการเรียนนี้มาให้คำปรึกษาเพื่อสร้างผู้นำในที่ต่างๆทั่วโลกโดยเน้นการสร้างภาวะผู้นำของผู้หญิง

 

นอกจากนี้ ดร.โอซายังให้ความสนใจอย่างมากในด้านนวัตกรรม การให้คำปรึกษางานด้านมิติที่เกี่ยวกับเรื่องเพศให้กับ USAID กระทรวงการต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ สถาบัน SIDA ของสวีเดน และกองทุนการท้าทายเพื่อการสร้างนวัตกรรมของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำและอาหาร โดยควบรวมการลงทุนที่เน้นมิติเรื่องเพศด้วย

 

ดร.โอซาจบปริญญาเอกด้านสังคมศาสตร์ University of Stockholm ปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาจาก Gothenburg School of Business and Commercial Law จบปริญญาตรีด้านสังคมวิทยาจาก Vaxjo University โดยการศึกษาทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยเรื่องเพศและการพัฒนาในประเทศเอธิโอเปียและการวิเคราะห์แบบสหวิชาชีพ ดร.โอซายังเป็นผู้เขียนและผู้เขียนร่วมในงานพิมพ์หลายด้านที่เกี่ยวกับเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ การสร้างศักยภาพการเพิ่มพลังให้กับผู้หญิง และยังเป็นนักวิจัยของ the Rockefeller Bellagio Centre อีกด้วย

 

ดร.โอซาและคู่สมรส Wilhelm ซึ่งเป็นกุมารแพทย์มีบุตรธิดาที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น 3 คน ในช่วงเวลาว่าง ดร.โอซาใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติและให้ความสนใจกับแรงกระเพื่อมทางความเชื่อที่มีผลต่อชีวิตแต่ละบุคคลและต่อวัฒนธรรมในแต่ละท้องที่ ปัจจุบัน ดร.โอซาให้ความสนใจศึกษาศาสนาศาสตร์ต่างๆ ดร.โอซาสามารถพูดได้หลายภาษา คือ ภาษาสวีเดน ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และเคยศึกษาภาษาอัมฮาริก ภาษากีเอซ และภาษาคิสวาฮีลี